กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ชุมนุม)
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาปีการศึกษา
2558
ชุมนุม Easy
Japanese
ครูที่ปรึกษา : นางสาวรุ่งทิวา ตำรารัมย์ (ครูอุ้ม)
เป้าหมาย :
1.
เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นมากขึ้น
และนักเรียนสามารถสื่อสารโดยใช้บทสนทนาแบบง่ายๆได้
2.
เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้วิถีชีวิต
ประเพณี วัฒนธรรมที่แตกต่างและความเป็นอยู่ของ
ชาวญี่ปุ่นได้
รูปแบบกิจกรรม
·
ศึกษาตัวอักษรของญี่ปุ่น
ทั้งอักษรฮิรางะนะ และ คะตะกะนะ
·
ศึกษาบทสนทนาพาเพลิน
(มีบทสนทนาในสถานการณ์ต่างมาให้ฝึกพูด)
·
ศึกษาวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นจากการดูภาพยนตร์
การ์ตูน การฟังเพลง
·
ศึกษากิจกรรมการพับกระดาษแบบง่ายๆ
·
ศึกษากิจกรรมการแต่งกายแบบญี่ปุ่นได้
·
ศึกษากิจกรรมการทำอาหารญี่ปุ่นแบบง่ายๆ
ปฏิทินการจัดกิจกรรมชุมนุม ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2558 (Quarter 1-2)
สัปดาห์
|
เนื้อหา
|
กิจกรรม
|
สื่อ
/ อุปกรณ์
|
ชิ้นงาน
|
ประเมินผล
|
|||
1
|
การเลือกชุมนุม
|
- ครูแนะนำกิจกรรมและเป้าหมายของแต่ละชุมนุม
- นักเรียนแต่ละคนเลือกชุมนุมที่ตนเองสนใจ
|
-
|
-
|
- สังเกตการร่วมกิจกรรม
- ความสนใจ
|
|||
บันทึกหลังการเรียนรู้
สัปดาห์แรกนักเรียนเลือกชุมนุมที่ตัวเองสนใจ สมาชิกในชุมนุมมี 8 คนดังนี้ พี่นัปการ พี่เอ็มมี่ พี่กระถิน พี่ตุ๊กตา พี่เดียร์ พี่ไข่มุก
พี่ไก่ และพี่เพลง
|
||||||||
2
|
การวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน
|
นักเรียนร่วมกันวางแผนการทำกิจกรรมภาพรวมตลอด1 ภาคเรียน โดยจะแยกเป็นด้านวีชีวิตความเป็นอยู่วิถีชีวิต ประเพณี
วัฒนธรรมที่แตกต่างและความเป็นอยู่ของชาวญี่ปุ่นด้านตัวอักษรแบบต่างของญี่ปุ่นได้
|
-
|
แผนงานตลอด 1 ภาคเรียน
|
- สังเกตการร่วมกิจกรรม
- การพูดแสดงความคิดเห็น
|
|||
บันทึกหลังการเรียนรู้
ครูและนักเรียนคุยกันถึงกิจกรรมที่จะเกิดในภาคเรียนที่ 1 ว่านักเรียนอยากเรียนอะไรบ้าง
ผลสรุปคือ
1.
นักเรียนอยากเรียนภาษาญี่ปุ่นแบบ
ฮิรางะนะ (ตัวอักษร)
2.
นักเรียนอยากเรียนภาษาญี่ปุ่นผ่านเพลง
3.
นักเรียนอยากเรียนภาษาญี่ปุ่นผ่านการทำอาหาร
4.
นักเรียนอยากเรียนภาษาญี่ปุ่นผ่านสถานที่ท่องเที่ยว
5.
นักเรียนอยากเรียนรู้วิธีการใส่ชุดยูกะตะ
|
||||||||
3
|
คำทักทายง่ายองภาษาญี่ปุ่นโดยยังไม่ได้เรียนตังอักษรญี่ปุ่น
|
- ครูและนักเรียนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับบทสนทนาง่ายๆที่ใช้ทักทายในชีวิตประจำวัน
1.はじめまして。ชื่อ です。どうぞ よろしく。
2.
おはよう ございます。
3.こんにちは。
4.こんばんは
|
หนังสือ
วิดีโอ
|
จับคู่สนทนาภาษาญี่ปุ่นง่ายๆได้
|
- สังเกตการร่วมกิจกรรม
- ความสนใจ
- การพูดสนทนาง่ายๆ
- การทำงาน
|
|||
บันทึกหลังการเรียนรู้
นักเรียนเรียนรู้บทสนทนาเกี่ยวกับการทักทายเป็นภาษาญี่ปุ่นแบบง่ายๆ
ผ่านการดูการ์ตูนโดเรมอนและเพลงการทักทายภาษาญี่ปุ่น
|
||||||||
4
|
ดูการ์ตูน
โดราเอมอนเป็นภาษาญี่ปุ่น
|
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการ์ตูนโดราเอมอน
ว่านักเรียนได้เรียนรู้คำศัพท์อะไรบ้างจากการ์ตูน
- นักเรียนร่วมกันแชร์คำที่ได้ยินจากการ์ตูนและช่วยกันคิดว่าน่าจะเป็นคำอะไร
และมีความหมายว่าอะไรในภาษาญี่ปุ่น
-สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมร่วมกัน
|
การ์ตูน
โดราเอมอน
|
- นักเรียนเข้าใจคำศัพท์ที่นักเรียนได้ยินจากการ์ตูน
- เขียนสิ่งที่ได้ยินลงในสมุด
|
- สังเกตการร่วมกิจกรรม
- ความสนใจ
- การพูดแสดงความคิดเห็น
|
|||
บันทึกหลังการเรียนรู้
สัปดาห์นี้ยังเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นผ่านการดูการ์ตูนโดเรมอน
แต่จะเป็นเวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นเพื่อที่จะให้นักเรียนได้ซึมซับภาษาญี่ปุ่นและเกิดความสนุกและรักภาษาญี่ปุ่นมากขึ้น
|
||||||||
5
|
ทำความรู้จักตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่น
|
- ครูและนักเรียนเกี่ยวกับตัวอักษรของภาษาญี่ปุ่น 4
ประเภท ดังนี้
1. ฮิระงะนะ
2. คะตะกะนะ
3. โรมาจิ
4.
คันจิ
|
- หนังสือภาษา
ญี่ปุ่น
-นิตยสาร
|
ใบงาน (แยกประเภทของตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นได้)
|
- สังเกตการร่วมกิจกรรม
- ความสนใจ
- การพูดแสดงความคิดเห็น
- การทำใบงาน
- การตรวจชิ้นงาน
|
|||
บันทึกหลังการเรียนรู้
เรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นแบบต่าง
เช่น แบบฮิรางะนะ คะตะกะนะ โรมาจิ และคันจิ
ดูนักเรียนสนุกและให้ความสนใจเกี่ยวกับการเรียนตัวอักษรแบบฮิระงานะมาก
เพราะเขาเคยเรียนแต่แบบคะตะกะนะมากับครูอากิ
|
||||||||
6- 10
|
เรียนรู้อักษร
ฮิระงะนะ
|
- ครูและนักเรียนเรียนรู้อักษรฮิระงะนะ
(อักษรที่คนญี่ปุ่นนิยมใช้มากที่สุด)
เรียนรู้ทำความรู้จักตัวอักษรจากหนังสือ
·
ฝึกคัดตัวอักษร
ฮิระงะนะ
·
ฝึกการอ่านออกเสียง
·
เรียนรู้คำศัพท์ผ่านตัวอักษร
·
ทบทวนผ่านการเล่นเกม
การเขียนตามคำบอก การฟังคลิปวิดีโอ
·
สรุปการเรียนรู้ตลอด
Quarter 1 ผ่านการทำเป็น Mind Mapping
|
- หนังสือภาษา
-คลิปวิดีโอการออกเสียงภาษาญี่ปุ่น
|
ใบงาน (เขียนอักษรฮิระงะนะได้)
|
- สังเกตการร่วมกิจกรรม
- ความสนใจ
- การพูดแสดงความคิดเห็น
- การทำงาน
-การคัดลายมือ
- ฝึกเขียน
- การตรวจชิ้นงาน
|
|||
บันทึกหลังการเรียนรู้
กิจกรรมที่จะสามารถทวนเขาเกี่ยวกับตัวอักษรที่เขาได้เรียนรู้ไปแล้ว
ครูได้เลือกกิจกรรมมาแบบหลากหลาย เช่น บางทีก็เขียนตามคำบอกเกี่ยวกับตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น
บางทีก็เลือกที่จะเปิดเทปแล้วให้นักเรียนเดาว่าเป็นคำไหบน
บางทีก็เรียนภาษาญี่ปุ่นผ่านรูปภาพ เป็นต้น
|
||||||||
11
|
ร้องเพลง
さよなら大好きな人 (Good bye my
love)
|
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง
さよなら大好きな人
(Good
bye my love)
|
- เนื้อเพลง
さよなら大好きな人
-คลิปวิดีโอเพลง さよなら大好きな人
(Good
bye my love)
|
- ร้องเพลงได้
|
- สังเกตการร่วมกิจกรรม
- ความสนใจ
- ให้ความร่วมมือในการร้องเพลงและร้องเพลงกับเพื่อนได้
- การทำงานร่วมกับคนอื่น
|
|||
บันทึกหลังการเรียนรู้
ครูให้โจทย์นักเรียนว่า
อยากให้นักเรียนเลือกเพลงภาษาญี่ปุ่นที่ตัวเองสนใจมา 1 เพลง แล้วหัดร้องเพลงนั้นเพราะว่าตอนที่ก่อนที่จะปิด Quarter 2 ครูจะให้นักเรียนทำการแสดง และครูก็มีเพลง Sayonara มาให้นักเรียนลองหัดร้องก่อน นักเรียนต่างก็ให้ความสนใจอยากที่จะร้องเพลงนี้ได้
|
||||||||
12
|
ร้องเพลง(ต่อ)
|
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเพลงที่จะใช้ร้องตอนปิดภาคเรียนที่
1
- นักเรียนช่วยกันเลือกเพลงภาษาญี่ปุ่นที่นักเรียนสนใจ
-ฝึกซ้อมเพลงภาษาญี่ปุ่น
|
- เพลงภาษาญี่ปุ่นที่นักเรียนสนใจ
|
นำเสนอเพลงก่อนที่จะปิดภาคเรียนที่ 1
|
- สังเกตการร่วมกิจกรรม
- ความสนใจ
- การพูดแสดงความคิดเห็น
- การทำงานเป็นกลุ่ม
|
|||
บันทึกหลังการเรียนรู้
สัปดาห์นี้กลุ่มพี่เดียร์ พี่ตุ๊กตา พากันหัดร้องเพลง Divine Girls generation และกลุ่มพี่เพลงก็หัดเต้นประกอบจังหวะเพลงเหมือนกัน
|
||||||||
|
- เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวญี่ปุ่น
- ศิลปะการพับ
กระดาษของคนญี่ปุ่น โอริงามิ
(折り紙)
|
- ครูและนักเรียนร่วมเรื่องของความเป็นอยู่ของภูมิภาคต่างๆของชาวญี่ปุ่น
ประเพณี วันสำคัญต่างๆ และศิลปะการพับกระดาษแบบ
โอริงามิ (折り紙)
|
- คลิปวิดีโอการพับกระดาษแบบต่างๆ
|
- พับกระดาษเป็นรูปต่างๆได้
|
- สังเกตการร่วมกิจกรรม
- ความสนใจ
- การทำงาน
- ความรับผิดชอบต่อชิ้นงาน
|
|||
บันทึกหลังการเรียนรู้
สัปดาห์นี้ได้ลองหัดพับกระดาษเป็นรูปสัตว์ง่าย
เช่น สุนัข แมวและกระต่ายเป็นต้น
และหลลังจากนั้นครูก็เชื่อมโยงเข้าสู่เรื่องราวของศิลปะการพับกระดาษแบบคนญี่ปุ่น
และครุก็เสริมและแทรกเรื่องของศิลปวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นไปด้วยค่ะ
|
||||||||
14
|
-การพับ
กระดาษของคนญี่ปุ่น โอริงามิ
(折り紙)
|
- ครูและนักเรียนร่วมกันเรียนรู้และลงมือพับกระดาษเป็นรูปแบบต่างๆที่นักเรียนสนใจ
(ปฏิบัติจริง )
|
- ขั้นตอนการพับกระดาษแบบต่างๆ
- กระดาษสี/ลวดลายต่างๆ
-กรรไกร
|
- พับกระดาษเป็นรูปต่างๆได้
|
- สังเกตการร่วมกิจกรรม
- ความสนใจ
- การทำงาน
-ความรับผิดชอบต่อชิ้นงาน
|
|||
บันทึกหลังการเรียนรู้
พับกระดาษเป็นรูปต่างและเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารการกิน
จากรายการแนะนำประเทศญี่ปุ่นสถานที่ต่างๆที่รวบรวมสถานที่ท่องเที่ยวและอาหารการกินที่ข้นชื่อของชาวญี่ปุ่น
|
||||||||
15 - 16
|
- เรียนรู้วัฒนธรรมอาหารการกินของคนญี่ปุ่น
- ทำอาหารแบบ
ญี่ปุ่นง่ายๆ
|
- ครูและนักเรียนร่วมกันเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนาธรรมอาหารการกินที่แตกต่างของชาวญี่ปุ่นในแต่ละภูมิภาค
- นักเรียนทำอาหารของญี่ปุ่นแบบง่ายๆได้ เช่น
- 則巻 (โนริมากิ) ข้าวห่อสาหร่าย
-寿司 ซุชิ
![]() |
- ข้าวเปรี้ยว (สูตรปรับปรุงแล้ว)
- ข้าวเหนียว 1 ถ้วยตวง
- น้ำปรุงน้ำส้มสายชู 3/4 ถ้วยตวง
- น้ำตาลทราย 4 ช้อนโต๊ะ
- เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
- สาหร่าย
|
- ข้าวห่อ
สาร่าย
- ซูซิ
|
- สังเกตการร่วมกิจกรรม
- ความสนใจ
- การทำงาน
- การเก็บอุปกรณ์
- การตรวจชิ้นงาน
|
|||
บันทึกหลังการเรียนรู้
สัปดาห์นี้พี่ๆมัธยมมีโอกาสทำขนมโตเกียว
ซึ่งทุกคนต่างก็ตื่นเต้นและตั้งใจทำกันมาก แต่ปรากฏว่าขนมที่ทำออกมาไม่เป็นไปตามสูตรูที่วางไว้
เพราะรสชาติที่ออกมาขมมาก
อาจจะเป็นกับส่วนผสมที่เราใส่สัดส่วนมันอาจจะไม่ได้เหมือนที่สูตรกำหนดไว้เท่าไหร่
แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ก็ทำให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างดีเลยค่ะ
|
||||||||
17-18
|
- เรียนรู้วัฒนธรรมการแต่งกายของคนญี่ปุ่น
|
- ครูและนักเรียนร่วมกันเรื่องของการแต่งกายของคนญี่ปุ่น
- เรียนรู้วิธีการใส่ชุดยูกะตะแบบที่ถูกต้อง
ทั้งการใส่ยูกะตะของผู้ชายและผู้หญิงได้
การใส่ชุดยูกะตะของผู้ชาย
การใส่ชุดยูกะตะของผู้หญิง
|
- วิดีโอขั้นตอน-- การใส่ชุด
ยูกะตะ ชุดยูกะตะ
|
- แต่งกายด้วยชุดยูกะตะได้อย่างถูกต้อง
|
- สังเกตการร่วมกิจกรรม
- ความสนใจ
- ความรู้จากการสังเกตขั้นตอนการใส่ชุดยูกะตะ
- การทำงานร่วมกับผู้อื่น
|
|||
บันทึกหลังการเรียนรู้
ตอนแรกที่คิดไว้คือ
จะให้นักเรียนได้มีโอกาสลองใส่ชุดยูกะตะจริงๆ
แต่อาจจะเป็นเพราะความไม่พร้อมหลายๆด้าน
ทั้งของเราและของครูที่โรงเรียนประโคนชัย (ที่เราจะไปยืม) ก็เลยได้แค่เปิดคลิปวิดีโดโอทั้งเรื่องของวิธีการใส่และชุดยูกะตะแบบต่างๆค่ะ
|
||||||||
19-20
|
การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ชุมนุมภาษาญี่ปุ่นทั้งภาคเรียนที่1 (Quarter 1 - 2)
|
- ร้องเพลงภาษาญี่ปุ่นแต่งตัวโดยชุดยูกะตะ
- สรุปองค์ความรู้เป็น Mind Mapping
|
- ชุดยูกะตะ
- กระดาษ A 4
|
- นำเสนอผ่านร้องเพลงภาษาญี่ปุ่น
- Mind Mappingสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งภาคเรียนที่ 1
|
- ความตั้งใจในการทำงาน
- การเข้าร่วมกิจกรรม
- การตรวจชิ้นงาน
|
|||
สรุปสิ่งที่เรียนรู้ร่วมกันและนักเรียนก็ทำเป็น Mind
Mapping ส่งครูค่ะ
|
||||||||
ลงชื่อ
รุ่งทิวา
ตำรารัมย์ ครูอุ้ม
(นางสาวรุ่งทิวา ตำรารัมย์)
ตัวอย่าง Mind Mapping หลังเรียนชุมนุม Easy Japaness
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น